วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

1.     กฎหมาย คืออะไร?
ตอบ   กฎหมาย คือ  คำสั่ง ข้อบังคับ  ที่ออกโดยรัฐฐาธิปัตย์เพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของพลเมือง หากฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ
2.     ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอะไรบ้าง?
ตอบ   1. ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของผู้มีอำนาจในรัฐ
2.ใช้ควบคุมพฤติกรรมสมาชิก(คน)
3. ใช้บังคับทั่วไป(บังคับกับทุกคนในราชอาณาจักร)
4. ใช้บังคับได้เสมอไป(ตลอดไปจนกว่าจะมีการยกเลิก)
5. หากฝ่าฝืนต้องถูกลงโทษ
3. กฎหมายมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร?
ตอบ   1.กฏหมายสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยแก่สังคมและประเทศชาติ
2.การบริหารราชการแผ่นดินและการปกครองบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
3. สังคมจะสงบสุขเมื่อทุกคนปฏิบัติตามกฎหมาย
4. กฎหมายสร้างความเท่าเทียมในความเป็นมนุษย์
5. กฎหมายเป็นกฏเกณฑ์ที่สำคัญเพื่อก่อให้เกิดความยุติธรรม
4. การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีการแบ่งตามหลักเกณฑ์ใดบ้าง?
ตอบ 1. กฎหมายภายใน
2. กฎหมายภายนอก
5. ให้นักเรียนเขียน ศักดิ์ หรือลำดับชั้นของกฎหมาย เรียงจากสูงไปหาต่ำ?
7.ข้อบัญญัติท้องถิ่น

6. ที่มาของกฎหมายในระบบ Civil Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ   -เป็นลายลักษณ์อักษร
-เกิดมาจากกฎหมายโรมัน
-ศาลปกครอง-ศาลยุติธรรม
-ถือว่าตัวบทสำคัญที่สุด
7. ที่มาของกฎหมายในระบบ Common Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ   -ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
-จารีตประเพณี-คำพิพากษาศาล
-ถือว่าศาลสำคัญที่สุด
8. ระบบกฎหมายในปัจจุบันมีกี่ระบบ ระบบใดบ้าง?
ตอบ   4  ระบบ ได้แก่
1.             ระบบกฎหมายโรม่าโน-เยอรมันนิค (Civil Law)
2.             ระบบกฏหมายจารีตประเพณี (Common Law)
3.             ระบบกฎหมายสังคมนิยม
4.             ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม
9. ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายใด?
ตอบ   กฏหมายลายลักษณ์อักษร
10. องค์ประกอบสำคัญของ "รัฐ" มีอะไรบ้าง?
ตอบ   1. ประชากร รัฐทุกรัฐจะต้องมีประชากรจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจุดมุ่งหมายและมีประโยชน์ร่วมกัน จำนวนประชากรของแต่ละรัฐอาจมีมากน้อยแตกต่างกันไป ที่สำคัญคือ จะต้องมีประชากรดำรงชีพอยู่ภายในขอบเขตของรัฐนั้น
2. ดินแดน รัฐต้องมีดินแดนอันแน่นอนของรัฐนั้น กล่าวคือ มีเส้นเขตแดนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทั้งโดยข้อเท็จจริงและโดยสนธิสัญญา ทั้งนี้รวมถึงพื้นดิน พื้นน้ำและพื้นอากาศ
3. อำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจรัฐ หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ทำให้รัฐสามารถดำเนินการทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองภายในและภายนอก
4. รัฐบาล รัฐบาลคือ องค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินงานของรัฐในการปกครองประเทศ รัฐบาลเป็นผู้ทำหน้าที่สาธารณะสนองเจตนารมย์ของสาธารณชนในรัฐ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและป้องกันการรุกรานจากรัฐอื่น รัฐบาลเป็นองค์กรทางการเมืองที่ขาดไม่ได้ของรัฐ

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา


โอบามา กล่าวสุนทรพจน์ ขอบคุณ หลังชนะเลือกตั้งปธน. สมัย2
ที่นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริก นายบารัค โอบามา ได้กล่าวสุนทรพจน์ หลังทราบผลว่าได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีอย่างไม่เป็นทางการ โดยระบุว่า ขอบคุณชาวอเมริกันทุกคนที่ยังคงเชื่อมั่นในตัวเขา และลงคะแนนเสียงให้
ขณะเดียวกันก็ได้ขอบคุณทีมหาเสียงที่ทุ่มเททำงานอย่างหนักจนประสบความสำเร็จในวันนี้ โดยเฉพาะ มิชเชล โอบามา ภริยาและลูกสาวทั้ง 2 คน สำหรับกำลังใจที่มีให้ตลอดมา
ทั้งนี้ยอมรับว่า แม้เส้นทางอีก 4 ปีข้างหน้าจะเต็มไปด้วยอุปสรรค และมีภารกิจต่างๆที่ต้องแก้ไข แต่เขาในฐานะประธานาธิบดี ก็จะนำพาชาวอเมริกันทุกคนฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ เหล่านี้ไปให้ได้ด้วยกัน พร้อมกันนี้ก็ได้ว่าจะหาโอกาสพุดคุยกับนายรอมนีย์ ถึงแนวทางการแก้ปัญหาของประเทศด้วย


อัพเดตผลการเลือกตั้ง
13.41 น. โอบามา ขึ้นเวทีแถลงชัยชนะ
13.17 น.
 Huffingtonpost รายงานคะแนนเลือกตั้ง โอบามา 303 รอมนีย์ 203 คะแนน
13.00 น.
 นายมิตต์ รอมนีย์ แถลงยอมรับผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างไม่เป็นทางการ หลังพ่ายแพ้ต่อ นายบารัก โอบามา ที่ได้รับเลือกเป็นผู้นำประเทศสมัยที่ 2 ติดต่อกัน
11.51 น.
 Huffingtonpost รายงานคะแนนเลือกตั้ง โอบามา 290 รอมนีย์ 203 คะแนน
11.40 น.
 บารัค โอบามา ทวีตขอบคุณหลังทราบว่าได้คะแนนคณะผู้เลือกตั้งแล้ว 275 เสียง เกินจากที่ต้องได้อย่างน้อย 270 เสียงเพื่อชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ แม้ว่าผลการนับคะแนนในหลายรัฐยังไม่ออกมาก็ตาม
11.38 น.
 CNN และ Fox News ประกาศ โอบามา ชนะการเลือกตั้ง
11.16 น.
 NBC ประกาศ โอบามา ชนะการเลือกตั้ง
11.15 น. ผลเลือกตั้ง โอบามา 275 รอมนีย์ 203 คะแนน
11.00 น. ผลเลือกตั้ง โอบามา 244 รอมนีย์ 193 คะแนน

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อาเซียน-การปกครองของไทย


ASEAN

  "One Vision, One Identity, One Community"
หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม






 
กำเนิดอาเซียน

อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)

ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ

วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน

รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ

สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ

สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์

สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)

ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงค์โปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตร อาเซียนซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Organization)

กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วยข้อบทต่าง ๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่

(1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน
(2)
การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก
(3)
การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิก
(4)
การให้ผู้นำเป็น ผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง
(5)
การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ
(6)
การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ร่วม
(7)
การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที
(8)
การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ
(9)
การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น

กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้

ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)

ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ

ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community–APSC)

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)

ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC)

1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

(ASEAN Political and Security Community – APSC)

มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง โดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ คือ

1) การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคมวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น

2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้านครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติเพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกัน โดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ

3) การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ

2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

(ASEAN Political-Security Community-AEC)

มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงาน การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ

1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น

2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน)

3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ

4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคเพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน

3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

(ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)

อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity)
เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่

1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม

3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม

4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน

6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา

ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

สาระสำคัญของปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือ

ด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปันปฏิญญาชะอำ-หัวหินว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน เน้นย้ำถึงบทบาทของการศึกษาในการสร้างประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 อันประกอบด้วย 3 เสาหลัก ดังนี้

1. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาการเมืองและความมั่นคง

สนับสนุนความเข้าใจและความตระหนักรับรู้เรื่องกฎบัตรอาเซียนให้มากขึ้นโดยผ่านหลักสูตรอาเซียน ในโรงเรียนและเผยแพร่กฎบัตรอาเซียนที่แปลเป็นภาษาต่างๆ ของชาติ ในอาเซียนให้เน้นในหลักการแห่งประชาธิปไตยให้มากขึ้น เคารพในสิทธิมนุษยชนและค่านิยมในเรื่องแนวทางที่สันติภาพในหลักสูตรของโรงเรียนสนับสนุน ความเข้าใจและความตระหนักรับรู้ใน
ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อในภูมิภาคในหมู่อาจารย์ผ่านการฝึกอบรม โครงการแลกเปลี่ยน และการจัดตั้งข้อมูลพื้นฐานออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องนี้จัดให้มีการประชุมผู้นำโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นในภูมิภาคอาเซียนที่หลากหลาย การสร้างศักยภาพและเครือข่าย รวมทั้งยอมรับการดำรงอยู่ของเวทีโรงเรียน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia School Principals’ Forum: SEA-SPF)

2. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาเศรษฐกิจ

พัฒนาพัฒนากรอบทักษะภายในประเทศของแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อช่วยสนับสนุนการมุ่งไปสู่การจัดทำการยอมรับทักษะในอาเซียนสนับสนุนการขับเคลื่อนของนักเรียนนักศึกษาให้ดีขึ้นโดยการพัฒนาบัญชีรายการระดับภูมิภาคของอุปกรณ์สารนิเทศด้านการศึกษาที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจัดหาได้สนับสนุนการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือในภูมิภาคอาเซียน โดยผ่านกลไกความร่วมมือในระดับภูมิภาคระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งจะต้องดำเนินควบคู่ไปกับความพยายามในการปกป้องและปรับปรุงมาตรฐานทางด้านการศึกษาและวิชาชีพพัฒนามาตรฐานด้านอาชีพบนพื้นฐานของความสามารถในภูมิภาคอาเซียนโดยมุ่งไปที่การสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก และเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมโดยประสานกับกระบวนการกรอบการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านแรงงาน

3. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาสังคมและวัฒนธรรม

พัฒนาเนื้อหาสาระร่วมในเรื่องอาเซียนสำหรับโรงเรียนเพื่อใช้เป็นตัวอ้างอิงสำหรับการฝึกอบรมและการสอนของครูอาจารย์เสนอให้มีหลักสูตรปริญญาด้านศิลปวัฒนธรรมอาเซียนในมหาวิทยาลัยเสนอให้มีภาษาประจำชาติอาเซียน ให้เป็นภาษาต่างประเทศวิชาเลือกในโรงเรียนสนับสนุนโครงการระดับภูมิภาคที่มุ่งเน้นที่การส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้แก่เยาวชนรับรองการมีอยู่ของโครงการอื่นๆ เช่น การนำเที่ยวโรงเรียนอาเซียน โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษาอาเซียน การประชุมเยาวชนอาเซียนด้านวัฒนธรรม การประชุมสุดยอดเยาวชนนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยอาเซียน การประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน และการประกวดสุนทรพจน์ระดับเยาวชน สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศสมาชิกอาเซียนโดยการสนับสนุนการศึกษาสำหรับ
ทุกคนจัดให้มีการประชุมวิจัยทางด้านการศึกษาอาเซียนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการวิจัยและพัฒนาในภูมิภาคให้เป็นเวทีสำหรับนักวิจัยจากประเทศสมาชิกเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองในประเด็นและเรื่องที่เกี่ยวข้องของภูมิภาคสนับสนุนความเข้าใจและการตระหนักรับรู้ในประเด็นและเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียนโดยการบูรณาการให้อยู่ในหลักสูตรในโรงเรียน และการมอบรางวัล
โรงเรียนสีเขียวอาเซียนเฉลิมฉลองวันอาเซียน (วันที่ 8 สิงหาคม)ในโรงเรียนโดยเฉพาะในเดือนสิงหาคมผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การร้องเพลงชาติอาเซียน การจัดการแข่งขันเรื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอาเซียนการจัดแสดงเครื่องหมาย และสัญลักษณ์อื่นๆ ของอาเซียน การจัดค่ายเยาวชนอาเซียน เทศกาลเยาวชนอาเซียนและวันเด็กอาเซียนเห็นชอบที่จะเสนอในรัฐสมาชิกอาเซียน
แบ่งปันทรัพยากรแก่กัน และพิจารณาการจัดตั้งกองทุนพัฒนาด้านการศึกษาของภูมิภาคเพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินอย่างเพียงพอในการปฏิบัติการต่าง ๆได้ตามที่ได้รับการเสนอแนะมามอบหมายให้ องค์กรระดับรัฐมนตรีรายสาขาของอาเซียนเกี่ยวข้องและเลขาธิการอาเซียนดำเนินการปฏิบัติตามปฏิญญานี้โดยการให้แนวทางและสนับสนุนแผน 5 ปีของอาเซียนว่าด้วยเรื่องการศึกษา

รวมทั้งข้อตกลงในการควบคุมดูแลที่ได้รับการสนับสนุนโดยคณะกรรมการผู้แทนถาวรและรายงานต่อที่ประชุม สุดยอดอาเซียนเป็นประจำผ่านคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนทราบผลการคืบหน้าของการดำเนินการปฏิญาณว่าความมุ่งมั่นและข้อผูกพันของผู้นำอาเซียนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาเพื่อให้เกิดประชาคมอาเซียนที่มีการเคลื่อนไหวประชาคมที่มีความเชื่อมโยงกันและประชาคมของประชาชนอาเซียนและเพื่อประชาชนอาเซียน

นโยบายกระทรวงศึกษาธิการในการดำเนินการด้านการศึกษาตามปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน

จากการประชุมคณะกรรมการระดับชาติเพื่อขับเคลื่อนการศึกษาในอาเซียนสู่การบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2558 เมื่อวันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2553 ณ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน และผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ผู้อำนวยการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนและผู้แทนกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบร่างนโยบายเพื่อดำเนินงานตามปฏิญญาชะอำ-หัวหินด้านการศึกษา จำนวน 5 นโยบาย ดังนี้

นโยบายที่ 1 การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียน เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมของครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และประชาชน เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558
นโยบายที่ 2 การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนให้มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวประชาคมอาเซียน เช่น ความรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะและความชำนาญการที่สอดคล้องกับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม และการเพิ่มโอกาสในการหางานทำของประชาชน รวมทั้งการพิจารณาแผนผลิตกำลังคน
นโยบายที่ 3 การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษาและครูอาจารย์ในอาเซียน รวมทั้งเพื่อให้มีการยอมรับในคุณสมบัติทางวิชาการร่วมกันในอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และการแลกเปลี่ยนเยาวชน การพัฒนาระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งช่วยสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต การส่งเสริมและปรับปรุงการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมทางอาชีพ ทั้งในขั้นต้นและขั้นต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมและเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของประเทศสมาชิกของอาเซียน
นโยบายที่ 4 การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีการศึกษาในอาเซียนเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประกอบด้วย การจัดทำความตกลงยอมรับร่วมด้านการศึกษา การพัฒนาความสามารถ ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพสำคัญต่างๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรีการศึกษาควบคู่กับการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน
นโยบายที่ 5 การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States)
เนการาบรูไนดารุสซาลาม : Negara Brunei Darussalam

การปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์

ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์

เมืองหลวง : บันดาร์เสรีเบกาวัน

ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์, ภาษาอาหรับ

หน่วยเงินตรา : บรูไนดอลลาร์

ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingom of Cambodia

การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย

ประมุข : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี

เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ

ภาษาราชการ : ภาษาเขมร

หน่วยเงินตรา : เรียล

เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfaic.gov.kh
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : Republic of Indonesia

การปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย

ประมุข : พลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน

เมืองหลวง : กรุงจาการ์ตา

ภาษาราชการ : ภาษาบาร์ฮาซา, ภาษาอินโดนีเซีย

หน่วยเงินตรา : รูเปียห์

เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.kemlu.go.id

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : The Loa People's Democratic Republic

การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม

ประมุข : พลโทจูมมะลี ไซยะสอน

เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทน์

ภาษาราชการ : ภาษาลาว

หน่วยเงินตรา : กีบ

เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.la
มาเลเซีย : Malaysia

การปกครอง : สหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุข

ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ซาร์

เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์

ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์

หน่วยเงินตรา : ริงกิต

เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.kln.gov.my
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ : Republic of the Union of the Myanmar

การปกครอง : ระบบประธานาธิบดี

ประมุข : พลเอกเต็ง เส่ง

เมืองหลวง : นครเนปิดอร์

ภาษาราชการ : ภาษาพม่า

หน่วยเงินตรา : จั๊ต

เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.mm


สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ : Republic of the Philippine

การปกครอง : สาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดี

ประมุข : เบนิกโน อากีโน ที่ 3

เมืองหลวง : กรุงมะลิลา

ภาษาราชการ : ภาษาตากาล๊อก, ภาษาอังกฤษ

หน่วยเงินตรา : เปโซ

เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.dfa.gov.ph
สาธารณรัฐสิงคโปร์ : Republic of Singapore

การปกครอง : ระบบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข

ประมุข : โทนี ตัน เค็ง ยัม

เมืองหลวง : สิงคโปร์

ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีนกลาง, ภาษามาเลย์, ภาษาทมิฬ

หน่วยเงินตรา : ดอลล่าร์สิงคโปร์

เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfa.gov.sg
ราชอาณาจักรไทย : Kingdom of Thailand

การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

ประมุข : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร

ภาษาราชการ : ภาษาไทย

หน่วยเงินตรา : บาท

เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfa.go.th
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม : Socialist Republic of Vietnam

การปกครอง : ระบอบสังคมนิยมเวียดนาม

ประมุข : เจือง เติ๋น ซาง

เมืองหลวง : กรุงฮานอย

ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม

หน่วยเงินตรา : ด่อง

เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.vn
 
 
 
การปกครองไทย
       ในอดีตประเทศไทยมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุขทรงมีพระราชอำนาจโดยสมบูรณ์แต่เพียงประองค์เดียว ทรงใช้อำนาจทั้งในด้านนิติบัญญัติอำนาจ
บริหาร อำนาจตุลาการ และทรงแต่งตั้งข้าราชการ ขุนนางไปปกครองหัวเมืองต่าง ๆในที่นี้อาจกล่าวได้ว่า
พระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ทรงอยู่เหนือรัฐธรรมนูญและกฎหมายใดๆ
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ตรากฎหมาย ทรงตัดสินและพิจารณาอรรถคดี ทรงบริหารประเทศ
ดังนั้นประชาชนจึงต้องปฏิบัติตามพระบรมราชโองการ ใครฝ่าผืนไม่ได้ พระมหากษัตริย์ทรงมี
อำนาจสูงสุดและประชาชนต้องปฏิบัติตามและที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีรูปแบบการปกครองแบบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ใน 4 สมัยดังนี้คือ
1. สมัยอาณาจักรสุโขทัย (.. 1800-1921)
2. สมัยอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา (.. 1893-2310)
3. สมัยอาณาจักรกรุงธนบุรี และ สมัยอาณาจักรรัตนโกสินทร์ตอนต้น (.. 2310 - 2325)
4. สมัยการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 จนกระทั่งถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่
24 มิถุนายน พ.. 2475
1) สมัยอาณาจักรสุโขทัย (..1800-1921)
ในสมัยนี้มีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือราชาธิปไตย ซึ่งเป็นรูปแบบการ
ปกครองที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยอันเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองและทรงใช้
อำนาจนี้ในการออกกฎหมายเรียกว่าอำนาจนิติบัญญัติ ทรงบริหารกิจการบ้านเมืองเรียกอำนาจนี้ว่า อำนาจ
บริหารราชการแผ่นดิน และทรงพิจารณาอรรถคดีทรงพิพากษาและตัดสินคดีความต่าง ๆ ทุกวันธรรมะ
สาวนะด้วยพระองค์เอง เรียกอำนาจนี้ว่าอำนาจตุลาการ จะเห็นได้ว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนี้เพียง
พระองค์เดียว และทรงใช้อำนาจบนพื้นฐานของหลักธรรมประชาชนอยู่ร่มเย็นเป็นสุข
ในสมัยอาณาจักรสุโขทัยมีลักษณะการปกครองโดยใช้คตินิยมในการปกครองแบบครอบครัวหรือ
พ่อปกครองลูกมาเป็นหลักในการบริหารประเทศ โดยในสมัยนั้นพระมหากษัตริย์ใกล้ชิดกับประชาชน
มาก ประชาชนต่างก็เรียกพระมหากษัตริย์ว่า พ่อขุนซึ่งมีลักษณะเด่นที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
- พ่อขุนเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย โดยปกครองประชาชนบนพื้นฐานของความรัก ความเมตตาประดุจ
บิดาพึงมีต่อบุตร บางตำราอธิบายว่าเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูกหรือแบบ ปิตุราชา
ประชาธิปไตย
-พ่อขุนอยู่ในฐานะผู้ปกครองและประมุขของประเทศที่มีอำนาจสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว
- ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพในการดำเนินชีวิตพอสมควร ดังจะเห็นได้จากศิลาจารึกอธิบายว่า
“......ใครใคร่ค้า ค้า เอาม้ามาค้าเอาข้าวมาขาย....” อาจกล่าวได้ว่าผู้ปกครองและผู้อยู่ภายใต้การ
ปกครองมีฐานะเป็นมนุษย์เหมือนกัน
-รูปแบบการปกครองเป็นไปแบบเรียบง่ายไม่มีพิธีอะไรมากมายนัก ไม่มีสถาบันการเมืองการ
ปกครองที่สลับซับซ้อนมาก
- มีการพิจารณาคดีโดยใช้หลักประกันความยุติธรรม เช่น เมื่อพลเมืองผิดใจเป็นความกันจะมีการ
สอบสวนจนแน่ชัดจึงตัดสินโดยยุติธรรม ในศิลาจารึกเขียนไว้ว่า ลูกเจ้าลูกขุนแลผิดแผกแสกกว้าง
กัน สวนดูแท้แลจึ่งแล่งความแก่ข้าด้วย ซื่อ บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน....”
นอกจากจะทรงวางรากฐานทางการปกครองแล้วในสมัยสุโขทัยยังทรงประดิษฐ์อักษรไทยเปิด
โอกาสให้คนได้เรียนรู้ภาษา รู้ธรรมและกษัตริย์บางพระองค์ ก็ได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์แบบธรรมราชา การ
ปกครองจึงมีรูปแบบธรรมราชาด้วย ซึ่งมีหลักการ คือ ความเชื่อที่ว่าพระราชอำนาจของกษัตริย์จะต้องถูก
กำกับด้วยหลักธรรมะ ประชาชนจึงจะอยู่เย็นเป็นสุข เมื่อสิ้นพระชนม์ก็จะได้ไปสู่สวรรค์จึงเรียกว่า สวรรคต
หลักธรรมสำคัญที่กำกับพระราชจริยวัตร คือ ทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตร 12 ประการ
2) สมัยอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา (.. 1893-2310)
พระเจ้าอู่ทองทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นช่วงของการ
ก่อร่างสร้างเมืองทำให้ต้องมีผู้นำในการปกครองเพื่อรวมรวมอาณาจักรให้แผ่ขยาย มีการติดต่อกับประเทศ
เพื่อนบ้านในเรื่องการค้าและศาสนา และในช่วงเวลานั้นมีการเผยแพร่ของลัทธิฮินดูและขอมเข้ามามีบทบาท
ในอาณาจักร ดังนั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงได้รับวัฒนธรรมการปกครองแบบขอมและฮินดูเข้ามาใช้ เรียก
การปกครองแบบนี้ว่า การปกครองแบบเทวสิทธิ์หรือ สมมติเทพโดยมีหลักการสำคัญ คือ
-กษัตริย์เปรียบเสมือนเทพเจ้าที่มีอำนาจสูงสุด ทรงเป็นเจ้าชีวิต คือ พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราช
อำนาจเหนือชีวิตของบุคคลที่อยู่ในสังคมทุกคน และทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดิน คือ ทรงเป็นเจ้าของ
แผ่นดินทั่วราชอาณาจักรและพระมหากษัตริย์จะทรงพระราชทานให้ใครก็ได้ตามอัธยาศัย
- การที่พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะเป็นสมมุติเทพ ตามคตินิยมของพราหมณ์ จึงต้องมีระเบียบพิธี
การต่าง ๆ มากมายแม้แต่ภาษาที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ก็ได้บัญญัติขึ้นใช้เฉพาะกับพระมหากษัตริย์
เท่านั้นที่เราเรียกว่า ราชาศัพท์
- กษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาต้องเข้าพิธีปราบดาภิเษก ซึ่งถือว่าเป็นการขึ้นสู่ราชบัลลังก์โดยชอบ
ธรรม ดังนั้นพระมหากษัตริย์จึงจำเป็นต้องมีกลุ่มหรือคณะบุคคลสนับสนุน และให้ประโยชน์ตอบ
แทนอันเป็นยศถาบรรดาศักดิ์หรือศักดินาแก่กลุ่มบุคคลดังกล่าว
-เกิดระบบทาสขึ้น หมายถึง บุคคลที่ใช้แรงงาน โดยทาสในสมัยกรุงศรีอยุธยาอนุญาตให้เสนาบดี ข้า
ราชบริพารและประชาชนที่ร่ำรวยมีทาสได้ และผู้ที่ใช้แรงงานเมื่อตกเป็นทาสก็ถือว่านายเงินเป็น
เจ้าของ เจ้าของอาจซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน หรือยกทาสให้ผู้อื่นได้ ดังนั้นจึงนำมาสู่การเกิดชนชั้นทาง
สังคม อาจกล่าวได้ว่าประชาชนผู้อยู่ใต้การปกครองมีฐานะไม่เท่ากัน
จากการที่อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ได้รับแนวคิดทางการเมืองการปกครองจากเขมรมากขึ้น ส่งผลให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการปกครองและในด้านสังคมไม่ว่าจะเป็น พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทวราช
หรือเทวดาโดยสมมุติ, การเกิดระบบศักดินาขึ้นครั้งแรกในสังคมไทย, การเกิดการปกครองแบบนายกับบ่าว,
มีการแบ่งชั้นทางสังคมชัดเจน
นอกจากนี้ในสมัยอยุธยายังต้องทำศึกสงครามเกือบตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นที่จะต้อง มีการ
เกณฑ์ไพร่พลเพื่อป้องกันประเทศ จึงเกิดระบบไพร่และมูลนายด้วยเช่นกัน
3) สมัยอาณาจักรกรุงธนบุรีและสมัยอาณาจักรรัตนโกสินทร์ตอนต้น (.. 2310-2325)
3.1) ลักษณะการปกครองสมัยอาณาจักรกรุงธนบุรี
เนื่องจากสมัยอาณาจักรกรุงธนบุรี เป็นช่วงที่ไทยได้เสียกรุงให้กับพม่า ครั้งที่ 2ในปี พ.. 2310 เกิด
ความแตกแยกกันเป็นกก เป็นเหล่ายังรวมกันไม่ติด และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาอยู่
ในสภาพที่ไม่สามารถทำนุบำรุงให้คงสภาพเดิมได้ อีกทั้งข้าศึกศัตรูก็รู้ลู่ทางดีและเมื่อถึงคราวน้ำหลาก
ปัญหาต่างๆ ก็ตามมามาก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงทรงย้ายมาตั้งเมืองหลวงที่กรุงธนบุรี และตลอดรัชสมัย
ของพระองค์ พระองค์ทรงทำศึกสงครามเพื่อรวบรวมประเทศไทยให้เป็นฝึกแผ่น ทำการกอบกู้เอกราชมา
โดยตลอด ดังนั้น ตลอดระยะเวลา 15 ปีพระองค์จึงไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองแต่อย่างไร ดังนั้น
ในสมัยกรุงธนบุรีอาจกล่าวได้ว่ายังคงใช้รูปแบบการปกครองแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อยู่
3.2) ลักษณะการปกครองสมัยอาณาจักรรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ในสมัยอาณาจักรกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น ประเทศไทยใช้รูปแบบการปกครองระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ตามแนวของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาไม่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเช่นกัน เพราะ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงก่อร่างสร้างเมืองปราบปรามข้าศึกศัตรูโดยเฉพาะพม่า ทำให้
ในเรื่องการปกครองไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงรัชกาลที่ 3 มีการเข้ามาของลัทธิล่าอาณานิคม
ประกอบกับประเทศไทยมีลักษณะเป็นรัฐกันชนทำให้เป็นที่สนใจของมหาอำนาจ ดังนั้นจึงส่งผลให้มีการ
ปฏิรูปทั้งในด้านการเมืองการปกครองรวมทั้งทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งปรากฏผลอย่างชัดเจนในรัช
สมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
4) สมัยการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 จนกระทั่งถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
วันที่ 24 มิถุนายน พ.. 2475
ผลจาการเข้ามาของลัทธิล่าอาณานิคมและปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ ส่งผลให้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของการปกครอง และความจำเป็นในการ
เปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงได้ทำการปฏิรูปการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินในวันที่ 1 เมษายน
2435 หรือร..111 ซึ่งมีหลักการที่สำคัญ คือ
-ทรงปฏิรูปการปกครองโดยการกำหนดให้มีการปกครองส่วนกลาง มีการจัดตั้งกระทรวง ทบวงกรม
และนำเอาระบบบริหาราชการแบบแบ่งแยกโครงสร้างอำนาจหน้าที่ (Structural Functionalism) มา
ใช้ในการบริหารประเทศ นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้มีการปกครองส่วนภูมิภาค โดยทรงรวบรวม
หัวเมืองให้เป็นหน่วยการปกครองใหม่เรียกว่า มณฑลและแบ่งส่วนความรับผิดชอบโดยแบ่งเป็น
มณฑลเทศาภิบาล เมือง อำเภอตำบล หมู่บ้าน นอกจากนี้ยังทรงจัดตั้งสุขาภิบาลขึ้น และเริ่มทดลอง
การกระจายอำนาจเป็นครั้งแรก ให้กับหน่วยการปกครองสุขาภิบาล
-ทรงทำการปฏิรูปในด้านสังคมและวัฒนธรรมอย่างชัดเจน เช่น การยกเลิกระบบไพร่ ทาส, การ
ปรับปรุงด้านการศึกษา, การนำเอาวิทยาการต่าง ๆ มาปรับใช้ เช่น โทรเลข โทรศัพท์ รถไฟและการ
เปลี่ยนแปลงการแต่งกายการเข้าเฝ้า ซึ่งโดยรวมเรียกว่าเป็นกระบวนการพัฒนาให้เกิดความทันสมัย
ในด้านต่าง ๆ (Modernization) เพื่อแสดงให้เห็นว่าไทยเป็นอารายะประเทศ
หนึ่งในกระบวนการพัฒนาให้เกิดความทันสมัยที่สำคัญ ได้แก่ การที่พระราชวงศ์และขุนนางชั้นสูง
ได้เดินทางไปรับการศึกษายังต่างประเทศ ซึ่งเมื่อได้เดินทางกลับมาก็ได้นำเอาแนวคิดและอารยธรรมทาง
ตะวันตก รวมทั้งแนวคิดทางด้านการเมืองการปกครองเข้ามาด้วยเช่นกัน ส่งผลให้เกิดแนวคิดในการ
เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกอันรวมไป
ถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้แก้ปัญหาโดยทำการปลดข้าราชการ
ให้มีจำนวนน้อยลงเพื่อการประหยัด ทำให้ข้าราชการโดยเฉพาะทหารไม่พอใจ
ต่อมาภายหลัง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองขึ้นอีก
ครั้งหนึ่ง นั่นคือสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปลดข้าราชการออกมากขึ้นรวมทั้งบรรดานายทหารชั้นนำก็
ถูกลดขั้นเงินเดือน ซึ่งแนวคิดและปัญหาดังกล่าวได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดการ
ปฏิวัติหรือการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยกลุ่มบุคคลที่เรียกตนเองว่า คณะราษฎรส่งผลให้ประเทศไทย
ได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากรูปแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นรูปแบบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในวันที่ 24 มิถุนายน 2475
 
ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย หรือระบอบ ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ มีกฎหมายสูงสุด คือรัฐธรรมนูญ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุขของประเทศ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475
แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยยังเป็นประชาธิปไตยที่ไม่เป็นไปตามหลักการ มีการปฏิวัติรัฐประหารยึด อำนาจ ตั้งคณะรัฐบาลและกำหนดบทบัญญัติขึ้นเอง ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพดังที่ควรจะเป็น ดังนั้น จึงเกิดเหตุการณ์ ใหญ่ขึ้นถึง 3 ครั้ง คือ
ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 มีกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านอำนาจเผด็จการ อันประกอบไปด้วยประชาชน จากทุกสาขาอาชีพ ภายใต้การนำของนิสิต นักศึกษาจากทุกสถาบัน เป็นเหตุการณ์ที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การเมืองการ ปกครองของไทย เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้รับรู้ เกิดความหวงแหนและร่วมกันธำรงไว้ซึ่งการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยที่ต้องแลกมาด้วยชีวิต และความยากลำบากของเพื่อนร่วมชาติ
เหตุการณ์ครั้งที่สอง เกิดขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ได้มีนิสิตนักศึกษาและประชาชนร่วมกันปกป้องประชาธิปไตย ต่อต้านการกลับมาของกลุ่มอำนาจเก่า ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียทรัพยากรบุคคลอันมีค่ายิ่งไปเป็นจำนวนมาก
และครั้งล่าสุดเกิดขึ้นวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 มีกลุ่มต่อต้านอำนาจเผด็จการและเรียกร้องประชาธิปไตยขึ้นอีก ผลจากการเรียกร้องในครั้งนี้ นำไปสู่การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งต่อมาได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
สถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปกครองประเทศ มีดังนี้
1. ฝ่ายบริหาร คือ คณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาล
2. ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา ประกอบด้วยสมาชิก 2 ส่วน คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ซึ่งประชาชนเลือกตั้งเข้ามาทั้งหมด และวุฒิสมาชิก ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ตามการเสนอ ขึ้นโปรดเกล้าฯ ของนายกรัฐมนตรี
3. ฝ่ายตุลาการ คือ ศาล มีหน้าที่พิจารณาคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามบัญญัติของกฏหมาย เพื่อให้เกิดความ ยุติธรรมแก่ประชาชน ทั้งนี้ในรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติให้ศาลเป็นสถาบันอิสระจากรัฐสภาและรัฐบาล มีคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) ทำหน้าที่ควบคุมการแต่งตั้งข้าราชการตุลาการ เพื่อให้ศาลเป็นสถาบันที่ ธำรงไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างแท้จริง
 


 
 
 
 
\\